การถ่ายทอด R-DNA
|
|
ไม่นานหลังจากการเปิดตัวของ YZF-R1 รุ่นแรก รถอีกหนึ่งรุ่นอย่าง YZF-R6 ก็ได้เปิดตัวออกมาอย่างน่าตื่นเต้นในปี 1999 โดยมันไม่ได้มีจุดประสงค์ในการเกิดขึ้นมาเพื่อแทนที่ YZF600R Thundercat แต่เป็นการพัฒนาให้เกิดมาเพื่อเป็นคู่แข่งกับ R1 แทนต่างหาก! ด้วยแนวคิดที่ยังคงต้องการมอบความตื่นเต้นให้กับผู้ขับขี่เหมือนกัน แต่แตกต่างกันออกไปด้วยเครื่องยนต์ 600cc และแชสซีที่เบาะกว่า กะทัดรัดกว่า ทำให้ R6 นั้นได้เปรียบ R1 ในสนามแข่งเมื่อยามที่เข้าและออกโค้ง โดยสิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้กำเนิดเจ้า R6 คันนี้ก็คือ ความนิยมในการแข่งขันมอเตอร์ไซค์สปอร์ตขนาด 600cc ในยุโรป และได้เลื่อนขั้นเป็นการแข่งชิงแชมป์โลกในปี 1999 กับรายการ Supersport World Championship โดยเครื่องยนต์ของ R6 นั้นให้แรงม้าสูงสุดที่ 120 ตัว มาพร้อมกับโครงอะลูมิเนียม Deltabox และมีน้ำหนักตัวแค่เพียง 169 กก. เท่านั้น
ต่อมาในปี 2003 R6 ได้รับการออกแบบเครื่องยนต์ใหม่ทั้งหมด เช่นเดียวกันกับเฟรมอะลูมิเนียนและสวิงอาร์มใหม่ ด้วยกระบวนการหล่อแบบ CF ของ Yamaha ทำให้อะลูมิเนียนที่ได้ไม่เพียงแต่มีความแข็งแกร่งเท่านั้น แต่ยังมีความบางเบาเอามากๆ อีกด้วย ซึ่งตรงนี้เองเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในสนามของ R6 ได้เป็นอย่างดี
|
|
จากนั้นในปี 2006 R6 รุ่นที่ 3 ก็มาถึง โดยมีการอัปเกรดสมรรถนะของเครื่องยนต์ให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก โดยมีการออกแบบกระบอกสูบใหม่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีช่วงชักที่สั้นลง ทำให้มีอัตราการบีบอัดที่สูงขึ้น และมีน้ำหนักของข้อเหวี่ยงที่เบากว่า รวมทั้งการปรับปรุงอย่างอื่นอีกมากมาย ทำให้เพิ่มแรงม้ามาได้ที่ 127 ตัว ซึ่งถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญของ R6 เลยทีเดียว
|
|
จนเดินทางมาถึงในปี 2017 ได้มีการเปิดตัว R6 รุ่นที่ 4 ในขนาด 600 cc และได้รับการออกแบบภายนอกให้มีลักษณะคล้ายๆ กับ R1 ในเวอร์ชั่น 2015 เพื่อเน้นย้ำถึงความเป็นซีรี่ย์เดียวกันให้ชัดเจน
|
|
ขั้นตอนต่อไปสำหรับการถ่ายทอด DNA ของ R-Seires ก็คือการนำเอาสูตรเดียวกันนี้มาใช้กับคลาสที่เล็กกว่าอย่าง YZF-R15 ที่เปิดตัวในปี 2008, R125 ในปี 2009 และ YZF-R25 และ R3 ในปี 2015 โดยทั้งหมดนั้นยังคงมีคอนเซ็ปท์ในการออกแบบที่เหมือนกันคือ ต้องการมอบความตื่นเต้นให้กับผู้ขับขี่ แม้ว่ารถแต่ละรุ่นจะวางขายในตลาดและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เพื่อการใช้งานที่หลากหลาย แต่ทุกรุ่นก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้นักบิดนั้นมีความสุขสนุกในการขับขี่มอเตอร์ไซค์แบบสปอร์ต และการออกแบบภายนอกของแต่ละรุ่น ก็สะท้อนถึงจุดยืนที่ชัดเจนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูล R-Series
|
|
โดยเครื่องยนต์ขนาดเล็กที่ใช้ใน R-Series ปัจจุบันได้แก่ YZF-R125, R15, R25 และ R3 นั้นต่างก็มอบความตื่นเต้นในการขับขี่ให้กับนักบิดทั่วโลก อย่างเช่น R25 และ R3 นั้นจะมาพร้อมกับคอนเซ็ปท์ “ซุปเปอร์ไบค์ที่คุณสามารถขี่ได้ทุกวัน” โดยสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ ก็คือ ไม่ว่าจะมีการพัฒนารุ่นไหนใน R-Series ออกมาก็ตาม แต่ทางทีมงานก็ยังจะยึดเอา R1 เป็นที่ตั้งเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสมรรถนะ การเข้าโค้ง และการเบรก
|
|
และในปี 2021 YZF-R15 รุ่นที่ 4 หรือที่เรียกกันว่าเวอร์ชั่น 4.0 ก็ได้เปิดตัวสู่ท้องถนน และสไตล์การออกแบบก็ชวนให้นึกถึง R1 เอามากๆ เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นไฟหน้า LED ช่องรับอากาศรูปตัว M ฯลฯ ในส่วนของฟีเจอร์ต่างๆ นั้น ก็จะมาพร้อมกับเครื่องยนต์แบบ 1 ลูกสูบ ระบายความร้อมด้วยหม้อน้ำ พร้อมกับระบบวาล์วแปรผัน VVA ที่ทำให้ตัวรถมีแรงบิดที่ยอดเยี่ยมในรอบต่ำถึงกลาง และก็มีกำลังที่เพียงพอในการขับขี่รอบความเร็วสูง ทำให้ตัวรถนั้นขี่สนุกให้อารมณ์แบบสปอร์ต ในทุกๆ ย่านความเร็ว นอกจากนั้นแล้วยังมาพร้อมกับระบบกันสะเทือนหน้าแบบหัวกลับ Upside Down ระบบแทรคชั่นคอนโทรล และก็ควิกชิพเตอร์ด้วย
|
|
ในปีเดียวกันกับที่ R15 รุ่นที่ 4 เปิดตัวนั้น YZF-R7 ก็ได้รับการเปิดตัวเช่นกัน และเป็นการส่งสัญญาณสำหรับทิศทางใหม่ของ R-Series โดยมันคือซุปเปอร์สปอร์ตในคลาสกลางที่ไม่เหมือนกับ YZF-R6 ที่จะเน้นการแข่งขันในสนามเป็นหลัก แต่ R7 นั้นถือกำเนิดมาเพื่อช่วยทำให้นักบิดที่มีทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกันหลายระดับ สามารถดึงเอาศักยภาพในการใช้งานตัวรถออกมาได้ทั้งหมดนั่นเอง รวมไปถึงตัวรถนั้นสามารถใช้งานได้ทั้งในสนามแข่งและขับขี่ในชีวิตประจำวันได้ดีพอๆ กันด้วย
|
|
โดยหัวใจหลักของขุมกำลัง R7 นั้น ก็คือการนำเอาแพลตฟอร์มเครื่องยนต์ CP2 Parallel Twin ของรุ่น MT-07 ที่จุดระเบิดแบบไม่สม่ำเสมอกัน พร้อมกับข้อเหวี่ยง 270 องศา และโครงสร้างหลักแบบท่อเหล็กกล้าที่มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแกร่งมาก ทั้งหมดนี้ได้รับการพัฒนามาอย่างพิถีพิถันเพื่อให้เป็นรถซุปเปอร์สปอร์ตที่มีน้ำหนักเบา เพรียวบาง และกะทัดรัดนั่นเอง ทำให้ R7 เป็นรถที่สามารถขี่ได้เพลิดเพลินทุกๆ เส้นทาง และเป็นก้าวไปต่อของผู้ที่ต้องการขยับ cc จาก YZF-R25 หรือ R3 ให้มาสัมผัสประสบการณ์ที่ตื่นเต้นในการขับขี่อีกระดับของ R-Series
ไล่เรียงไปตั้งแต่ YZF-R1, R6 และ R7 ไปจนถึง R3, R25, R15 และ R125 จะพบว่าตัวรถทั้งหมดนั้น มีการปรับปรุงอัปเดตอย่างต่อเนื่องมาตลอด แม้ว่าจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันในแต่ละรุ่น แต่ว่าต่างก็ถูกใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาอย่างตั้งใจในแต่ละคลาสของรถ เพื่อคำนึงถึงความเหมาะสมที่ลงตัวมากที่สุด และนี่แหละคือหัวใจหลักของ R-Series ที่ยังคงสร้างตื่นเต้นให้กับเหล่านักบิดมาถึงทุกวันนี้
|
ความมุ่งมั่นสู่อนาคตของ R-Series
|
|
“แม้ว่ามันจะบินอยู่ในอากาศ ผมก็จะยังเรียกมันว่า R1 ถ้ามันให้ความตื่นเต้นแบบเดียวกัน” วิศวกรหนึ่งในทีมพัฒนา R1 รุ่นปี 2004 ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งมันแสดงออกอย่างชัดเจนว่า ภารกิจเบื้องหลังในการสร้าง R1 และการสร้าง R-Series นั้น โดยรวมแล้วมันคือการมอบความตื่นเต้นในการขับขี่ให้กับนักบิดอย่างแม้จริง หากนับรวมเวลาที่ใช้ในการพัฒนา R1 รุ่นแรกสุดแล้ว R-Series ก็ถือว่าเติบโตและถูกพัฒนามานานกว่า 25 ปีแล้ว โดยตลอดเวลาหลายทศวรรษ การพัฒนาจากปรัชญา Jin-Ki Kanno ของ Yamaha เพื่อสร้างให้ผู้ใช้และมอเตอร์ไซค์รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งเป็น DNA ที่สำคัญมากๆ ของ R-Series ทำให้มันก้าวข้ามกรอบจำกัดความจุเดิมๆ ของเครื่องยนต์ ทำให้แต่ละรุ่นของ R-Series แม้ว่าจะมีขนาด cc ที่ต่างกัน แต่ล้วนแล้วก็ถูกบรรจุเข้าเป็นสมาชิกของ R-Series อย่างทรงเกียรติ โดย R-DNA จะยังคงไหลเวียนผ่านโลโก้ของตัว R ในแต่ละคัน เพื่อมอบความตื่นเต้นให้กับผู้ขับขี่ทุกคน
ในปัจจุบันนั้น ความต้องการในการลดมลภาวะทางอากาศ (ความเป็นการทางคาร์บอน) ได้กลายเป็นเป้าหมายของบริษัทต่างๆ ทั่วโลก โดยมีวิธีการต่างๆ ตั้งแต่การใช้ระบบพลังงานไฟฟ้า รวมไปถึงโครงการหน้าในการปฏิวัติเครื่องยนต์สันดาป หลากหลายรูปแบบ แต่อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ผู้คนและยานพาหนะยังคงมีปฏิสัมพันธ์กันอยู่ Yamaha จะยังคงสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีตัวอักษร “R” ต่อไป เนื่องจากนักบิดนั้นเป็นมนุษย์ ที่ย่อมจะปรารถนาความตื่นเต้นในการขับขี่ และ Yamaha เชื่อว่าเป็นหน้าที่ของเราในการเผชิญความท้าทายที่จะตอบสนองความต้องการตรงนี้ และพัฒนาจาก R-DNA ใหม่ๆ ออกมาให้ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้นไปอีก
อย่าลืมแอดไลน์ยามาฮ่า @yamahasociety มาเป็นชาวแก๊งเดียวกัน ไม่พลาดทุกเทรนด์ของไบเกอร์ พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย!
|