เชื่อว่าผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ทุกคนน่าจะรู้กันอยู่แล้วว่าในตลาดปกติทั่วไป ไม่มีเครื่องยนต์ 2 จังหวะแล้ว จะมีก็แต่รถมอเตอร์ไซค์วิบากที่เป็นรถแข่ง ซึ่งมีระบบเครื่องยนต์อยู่ 2 แบบ คือ เครื่องยนต์ 4 จังหวะ และเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ซึ่งมีระบบการทำงานที่แตกต่างกัน โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึงระบบเครื่องยนต์รถมอเตอร์ไซค์ 4 จังหวะกันว่ามีวิธีการทำงานอย่างไร อย่ารอช้าไปดูกันเลยดีกว่า
|
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ คืออะไร?
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ คือ การทำงานของเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่การให้อัตราเร่งที่ดี เครื่องแรงและยังถือเป็นระบบเครื่องยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะประหยัดน้ำมัน ควันน้อย เนื่องจากมีอัตราการเผาไหม้ที่สมบูรณ์และเสียงไม่ดัง จึงไม่สร้างมลพิษทางเสียงรบกวนผู้อื่น
|
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ มีหลักการทำงานอย่างไร
|
หลักการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ แบ่งเป็น จังหวะดูด (Suction Stroke) จังหวะอัด (Compression Stroke) จังหวะระเบิด (Power stroke) และจังหวะคาย (Exhaust stroke) โดยมีรายละเอียดดังนี้
-
จังหวะดูด (Suction Stroke) เป็นจังหวะที่ลูกสูบจะเคลื่อนตัวจากบนลงล่าง ซึ่งลิ้นไอดี – ที่ตรงข้ามกับไอเสีย หรือช่องไอดี (Intake Valves) จะทำหน้าที่เปิดให้อากาศจากท่อไอดีเข้าสู่กระบอกสูบแรงกดที่เกิดขึ้นจากเพลาลูกเบี้ยวส่งต่อมาที่วาล์วไอดีแล้วดูดน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศเข้าไปในกระบอกสูบ เรียกว่า ส่วนผสมไอดี และเมื่อสิ้นสุดจังหวะดูดช่องไอดีก็จะปิด
-
จังหวะอัด (Compression Stroke) ทำงานต่อจากจังหวะดูด เป็นจังหวะที่กระบอกสูบจะเคลื่อนตัวจากด้านล่างกลับขึ้นด้านบนอีกครั้ง ซึ่งทำให้ไอดีในห้องเผาไหม้ ถูกอัดส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมันตามการออกแบบเครื่องยนต์จากหลายส่วนจนเหลือหนึ่งส่วน
-
จังหวะระเบิด (Power Stroke) จังหวะนี้หัวเทียนจะจุดระเบิดและเผาไหม้ส่วนผสมไอดีในห้องเผาไหม้ เมื่อเกิดการระเบิดจะเกิดแรงดันในกระบอกสูบซึ่งจะดันให้ลูกสูบเคลื่อนตัวลงไปด้านล่างอีกครั้ง
- จังหวะคาย (Exhaust) จังหวะสุดท้าย กระบอกสูบที่ถูกดันลงไปอยู่ด้านล่างในจังหวะระเบิดจะเคลื่อนตัวขึ้นสู่ด้านบนอีกครั้งพร้อมการเปิดของวาล์วไอเสียเพื่อระบายไอเสียออกสู่ภายนอกเครื่องยนต์ ต่อไปยังท่อไอเสีย
|
การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ 4 จังหวะทำยังไง
|
สำหรับการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องมอเตอร์ไซค์ 4 จังหวะ ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือตามความเหมาะสม เช่น หากใช้งานรถมอเตอร์ไซค์หนักก็อาจจะต้องคอยตรวจเช็กสภาพน้ำมันเครื่องอยู่ตลอด ถ้าพบว่ามีลักษณะที่ผิดปกติก็ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทันที แม้จะยังไม่ถึงระยะเวลาที่กำหนดก็ตาม
|
เครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ 4 จังหวะ ต่างกันอย่างไร
สำหรับวิธีการสังเกตความแตกต่างของเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ 2 จังหวะ กับเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ 4 จังหวะ สามารถสังเกตได้ดังนี้
1.ท่อดูดอากาศ
วิธีที่หนึ่งคือการสังเกตท่อดูดอากาศ โดยท่อดูดอากาศของเครื่องยนต์ 2 จังหวะที่ต่อกับเครื่องยนต์นั้นจะมีความยาวที่ไม่เท่ากันและไม่อยู่ในระดับเดียวกัน ที่ต่อเครื่องยนต์จะไม่เท่ากัน แต่ถ้าเป็นเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ 4 จังหวะจะอยู่ในระดับเดียวกัน
2.เสียง
อย่างที่ไบเกอร์รู้ว่าเสียงของเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ 4 จังหวะนั้นจะมีเสียงที่นุ่ม ออกทุ้มๆ โทนเสียงต่ำ เมื่อเร่งรอบสูงๆ แต่ถ้าเป็นเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ 2 จังหวะ เสียงจะออกแหลมจนแสบแก้วหู รวมถึงตอนจอดรถมอเตอร์ไซค์ขณะติดเครื่องไว้ รอบของเครื่องยนต์จะมีการสะดุด ไม่เรียบอีกด้วย
3.ท่อไอเสีย (ควัน)
สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ที่มีเครื่องยนต์ 2 จังหวะ จะมีควันมากกว่ารถมอเตอร์ไซค์เครื่องยนต์ 4 จังหวะ เนื่องจากเครื่องยนต์ 2 จังหวะต้องการน้ำมันเครื่องชนิดพิเศษอย่าง “ออโต้ลูป” เพื่อมาช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ภายในห้องเครื่อง ส่วนเครื่องยนต์ 4 จังหวะที่มีควันน้อยกว่าหรือแทบไม่มีเลย ก็เพราะมีระบบการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่าเครื่องยนต์ 2 จังหวะนั่นเอง
4.ตำแหน่งติดตั้งหัวเทียน
ตำแหน่งหัวเทียนของรถมอเตอร์ไซค์ที่มีเครื่องยนต์ 4 จังหวะ จะอยู่ที่ปลายของฝาสูบ เพื่อหลบให้กับระบบควบคุมวาล์วที่อยู่บริเวณด้านบนของฝาสูบนั่นเอง ซึ่งเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ 2 จังหวะนั้นสามารถติดตั้งที่ด้านบนของฝาสูบได้เลย เนื่องจากไม่มีตัวระบบควบคุมวาล์วนั่นเอง
5.ระบบสตาร์ทรถมอเตอร์ไซค์
เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ 4 จังหวะส่วนใหญ่แล้วจะสามารถสตาร์ทรถได้ทั้ง 2 รูปแบบ นั่นก็คือการสตาร์ทด้วยเท้าและระบบไฟฟ้า (สตาร์ทมือ) แต่ถ้าเป็นรถมอเตอร์ไซค์ที่มีเครื่องยนต์ 2 จังหวะจำเป็นจะต้องสตาร์ทด้วยเท้าเท่านั้น ยกเว้นในรถมอเตอร์ไซค์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่หรือมีจำนวนสูบเกิน 2 สูบขึ้นไป ที่อาจมีระบบช่วยสตาร์ทเข้ามาอำนวยความสะดวก
|
การรู้จักและเข้าใจระบบการทำงานต่างๆ ของรถมอเตอร์ไซค์ โดยเฉพาะน้ำมันเครื่องมอเตอร์ไซค์ 4 จังหวะ จะทำให้เรารู้ว่าควรจะดูแลรักษามอเตอร์ไซค์ยังไงให้สามารถใช้งานได้นาน และไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่เกิดจากการปล่อยให้รถพังจากความไม่รู้
ทั้งนี้สามารถเข้าไปสอบถามรายละเอียดรถมอเตอร์ไซค์และน้ำมันเครื่องมอเตอร์ไซค์ 4 จังหวะเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ทุกสาขาทั่วประเทศ
|