Compression_Cover
Tip & Tricks

เคล็ดลับเซ็ตค่า Compression ให้โช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์

               

    เชื่อว่าหลายคนอาจยังไม่ทราบกันว่าโช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์ หรือที่เรียกว่า Compression นั้นสามารถปรับได้ แต่ต้องขอบอกก่อนเลยว่าไม่มีสูตรตั้งค่าที่ตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ขับขี่แต่ละคน ซึ่งการปรับค่า Compression หรือความหนืดในการยุบของตัวโช๊ครถมอเตอร์ไซค์เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเข้าใจจริงๆ โดยผู้ผลิตแนะนำว่าให้ใช้โช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์ที่มีค่ามาตรฐานผลิตจากโรงงานไปก่อน เพื่อให้รู้ว่าต้องการความรู้สึกและอารมณ์ขับขี่แบบไหนนั่นเอง    

 
ค่า Compression คืออะไร
 

ค่า Compression คืออะไร

    Compression แปลว่า การบีบอัด ซึ่งในที่นี้หมายถึงการที่แท่งแกนโช๊คภายในกระบอกโช๊คทำการบีบอัดน้ำมันไฮดรอลิกในห้องด้านล่างให้ไหลผ่านร่องวาล์วขึ้นไปห้องด้านบนเมื่อได้รับแรงกระแทกและเกิดการยุบตัว หรืออาจเรียกว่า ค่าความหนืดในการยุบของตัวโช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์

    ยังมีอีกคำหนึ่งที่ต้องอธิบายควบคู่กันเสมอ นั่นคือ คำว่า Rebound ที่แปลว่า การกระดอน การสะท้อนกลับ ซึ่งในที่นี้หมายถึง การยืดตัวกลับของโช๊คหลังจากที่ยุบลงมาแล้ว หรือความหนืดในการยุบของตัวโช๊คอัพนั่นเอง ซึ่งการยุบและยืดตัวของโช๊ครถมอเตอร์ไซค์จะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับการปรับค่า Compression และ Rebound นั่นเอง


 
ค่า Compression คือ
 

ค่า Compression ปรับได้กี่แบบ

    สำหรับการปรับค่าโช๊คมอเตอร์ไซค์อย่าง Compression ถ้าปรับมากโช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์ก็จะยิ่งยุบตัวช้า หรือมีความหนืดมาก และหากปรับค่า Compression น้อยลง โช๊ครถมอเตอร์ไซค์ก็จะยุบตัวได้เร็วขึ้น หรือมีความหนืดน้อยลง ถ้าเป็นโช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์รุ่นสูงๆ ก็จะสามารถแยกการปรับค่า Compression ได้หลากหลายมากขึ้น ทั้ง Compression ในจังหวะการยุบของโช๊คด้วยความเร็วต่ำ และ Compression การยุบตัวของโช๊คด้วยความเร็วสูง

 

ข้อดี-ข้อเสีย ของการปรับค่า Compression

    ค่า Compression หรือค่าการยุบตัวของโช๊คมอเตอร์ไซค์นั้น สามารถปรับให้ยุบเร็ว (หนืดน้อย) หรือยุบช้า (หนืดมาก) ได้ตามความต้องการ แต่การปรับโช๊คมอเตอร์ไซค์ทั้ง 2 แบบ ก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ดังนี้

  1. การปรับค่า Compression ให้ยุบเร็ว มีข้อดีคือโช๊ครถมอเตอร์ไซค์จะสามารถซับแรงสั่นสะเทือนจากผิวถนนได้ไว แต่ข้อเสียก็คือ เมื่อโช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์ยุบตัวเร็วหรือหนืดน้อยก็จะเกิดอาการโช๊คมอเตอร์ไซค์ยวบได้

  2. การปรับค่า Compression ให้ยุบช้า มีข้อดีคือ โช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์จะนิ่ง มีความเสถียรมากกว่าเมื่อเจอแรงกระแทก การปรับค่า Compression แบบนี้เหมาะกับการขี่มอเตอร์ไซค์ด้วยความเร็วสูงๆ ที่ต้องการความมั่นคงจากตัวรถ ส่วนข้อเสียก็คือเมื่อวิ่งบนสภาพถนนที่ขรุขระและต้องใช้ความเร็วต่ำ โช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์จะทำหน้าที่ซับแรงสั่นสะเทือนได้ไม่ค่อยดี เกิดอาการโช๊คกระด้างแทนโช๊คยวบ

 

 

    นอกจากการปรับโช๊คมอเตอร์ไซค์อย่างค่า Compression แล้ว การปรับโช๊คมอเตอร์ไซค์ค่าต่างๆ ของโช๊ครถมอเตอร์ไซค์ยังมีทั้งค่า Preload ซึ่งหมายถึง ระยะยุบตัวของโช๊คอัพที่ควรปรับขึ้นตามน้ำหนักบรรทุก และค่า Rebound หรือ ค่าความหนืดในการยุบของตัวโช๊คอัพที่ได้พูดถึงไปแล้ว โดยทั้ง 3 ค่าต้องถูกปรับให้สัมพันธ์กันทั้งหมดถึงจะเหมาะในการใช้งานในรูปแบบต่างๆ หรือให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนจัดการ ได้ที่ศูนย์จำหน่ายรถจักรยานยนต์ ยามาฮ่า ทุกสาขา ทั่วประเทศ ทั้งนี้สำหรับลูกค้ารถจักรยานยนต์ยามาฮ่าที่ซื้อรถมาใหม่ สามารถนำรถเข้าไปตั้งค่าโช๊คกับร้านผู้จำหน่ายในช่วงเช็กระยะ 1,000 กิโลแรกได้ เพื่อปรับตั้งค่าโช๊คที่เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเอง

หมายเหตุ : การปรับตั้งค่าโช๊คสามารถปรับได้เฉพาะรุ่นที่รองรับเท่านั้น