Blog-R-series-Story-800x420
Reviews

เจาะลึกประวัติศาสตร์ความแรงของ R-Series กับการถ่ายทอด DNA จากสนามแข่งลงมาสู่ YZF-R15 ที่เราทดสอบกัน by Greatbiker

8


          ในโลกของมอเตอร์สปอร์ตนั้น ไม่มีใครไม่รู้จัก Yamaha และก็ไม่มีใครไม่รู้จัก R-Series รหัสแห่งความแรงของตระกูลรถสปอร์ตฟูลแฟริ่ง ที่สร้างชื่อเสียงกันมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการแข่งขันในสนาม หรือว่าการใช้งานกันจริงๆ และทาง GreatBiker จะพาเพื่อนๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติศาสตร์ความร้อนแรงของ R-Series ที่ถ่ายทอด DNA ลงมาสู่ Yamaha YZF-R15 คันที่เรานำมาทดสอบกันในสนามครั้งนี้!


2




สำหรับจุดกำเนิดของ R-Series นั้นเราจะต้องย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1998 ที่ทาง Yamaha ได้ทำการออกแบบเครื่องยนต์ Genesis ใหม่ที่มีขนาดกระทัดรัดและกระชับมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งโดดเด่นด้วยชุด gearbox แบบเรียงซ้อนกัน โดยนับว่าเป็นรายแรกที่ออกแบบมาแบบนี้ ก่อนที่ผู้ผลิตรายอื่นจะผลิตตาม และมีการออกแบบเฟรมรถให้ใช้น้ำหนักของเครื่องยนต์ลูกนี้ ช่วยในการจัดการบาลานซ์ของตัวรถให้ออกมาดีที่สุด มันจึงเป็นจุดกำเนิดของ Yamaha YZF-R1 รถสปอร์ตเรพลิก้าอันโด่งดังในคลาส 1,000cc ที่สามารถสร้างแรงม้าในสมัยนั้นได้อยู่ที่ 140 hp พร้อมกับโช้กอัพหน้าแบบ Upside Down ขนาด 41 มม. ของ KYB มีระบบวาล์วพิเศษที่สามารถรีดเอาพละกำลังของเครื่องยนต์ให้สูงที่สุดได้ในทุกๆ รอบ


3



          หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1999 ทาง Yamaha ก็ได้ต่อยอดรถซุปเปอร์สปอร์ตในคลาส 600cc อย่าง YZF-R6 ที่ถูกถ่ายทอดเอาเทคโนโลยีมาจาก YZF-R1 คันแรกนั่นเอง โดยเจ้า YZF-R6 คันแรกนั้นก็สามารถรีดแรงม้าออกมาสูงสุดได้ที่   ซึ่งจะต้องนับว่าเป็นรถในคลาส 600cc แบบ 4 จังหวะคันแรกที่มีการวางขายจริง ที่สามารถสร้างแรงม้าได้เกิน 100 ตัว นับว่าการเปิดตัวของทั้ง YZF-R1 และ YZF-R6 นั้นสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการมอเตอร์ไซค์ระดับโลกและมอเตอร์สปอร์ตอย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียว

จาก R-Series รุ่นใหญ่ ถ่ายทอด DNA ลงสู่ R-Series ในระดับ Entry Class 


4


ทาง Yamaha เองนั้นได้ทำการพัฒนาทั้ง YZF-R1 และ YZF-R6 กันต่อเนื่องมาหลายเจเนเรชั่น และแล้วก็ได้มีการถ่ายทอด DNA ลงมาสู่รถในระดับคลาสเริ่มต้น เพื่อให้เหล่าไบค์เกอร์ได้สัมผัสกันในวงกว้างมากขึ้น นับไปตั้งแต่ในปี ค.ศ. 2008 ก็ได้มีการกำเนิด YZF-R15 กันเป็นครั้งแรกในโลก ที่ถือว่าเป็นปฐมบทแห่งความแรงของตระกูล R-Series ซึ่งเน้นตัวรถที่มีความคล่องแคล่ว น้ำหนักเบา สามารถทำความคุ้นเคยในการขับขี่ได้ง่าย แต่ก็ไม่ทิ้งฟีลลิ่งแบบสปอร์ตจากรุ่นพี่ และหลังจากนั้นในปี ค.ศ. 2015 ก็ได้ฤกษ์ปล่อยรถยอดฮิตอีกหนึ่งรุ่นอย่าง YZF-R3 ออกสู่สายตาชาวโลก และก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เชื่อว่าหลายๆ คนนั้นมีโอกาสได้สัมผัสและลองขี่เจ้าคันนี้กันจริงๆ มาแล้ว

บททดสอบของ Yamaha YZF-R15 2018 จากทางทีมงาน GreatBiker

5



            ครั้งนี้เราจะขอนำเอาเจ้า Yamaha YZF-R15 2018 โฉมล่าสุดมาทดสอบให้เพื่อนๆ ได้ทราบกันว่า มันจะถูกถ่ายทอด DNA มาจากรุ่นพี่ได้ขนาดไหน จะเหมือนกับที่จินตนาการไว้หรือไม่ ก่อนอื่นเรามารู้จักกับสเปกพื้นฐานของ YZF-R15 2018 คันนี้กันก่อน มันถูกออกแบบตัวรถมาให้เป็นแบบสปอร์ตแฟริ่งเต็มตัว เน้นเส้นสายที่ให้ฟีลลิ่งเดียวกันกับตระกูล R-Series คันอื่นๆ โดดเด่นด้วยการทำ aero dynamic ที่ยอดเยี่ยม มาพร้อมกับเครื่องยนต์ขนาด 155 cc 1 ลูกสูบแบบไดอะซิล 4 วาล์ว ให้แรงม้าสูงสุด 19 ตัว @ 8.900 rpm แรงบิดสูงสุด 14.7 นิวตันเมตร @ 7.000 rpm จ่ายน้ำมันด้วยระบบหัวฉีดอัจฉริยะ ระบายความร้อนด้วยน้ำ


6


ปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นต่อมอะดรีนาลีนของเหล่าไบค์เกอร์ทั้งหลาย ให้สนใจเจ้า R15 คันใหม่นี้นั่นก็คือ VVA “Variable Valve Actuation” หรือระบบวาล์วแปรผัน ซึ่งระบบนี้ จะช่วยทำให้รถมีแรงบิดและกำลังของเครื่องยนต์มีสมรรถนะดี ทั้งช่วงความเร็วรอบต่ำ กลางและสูง เพราะโดยปกติแล้วรถมอเตอร์ไซค์ทั่วๆ ไปย่อมมีข้อจำกัดหรือข้อด้อยอยู่ในตัวเช่นกัน เช่นเครื่องยนต์บางตัวมีสมรรถนะที่ดีในช่วงความเร็วรอบต่ำ แต่จะมีสมรรถนะน้อยลงเมื่อความเร็วรอบสูง หรือเครื่องยนต์ บางตัวมีสมรรถนะที่ดีในความเร็วรอบสูงแต่จะมีสมรรถนะไม่ดีในความเร็วรอบต่ำ แต่ระบบวาล์วแปรผันนี้ (VVA )จะทำได้ดี ทั้งรอบต่ำ, รอบกลางและรอบสูงนั่นเอง

7


          นอกจากนั้นยังมีฟีเจอร์ที่โดดเด่นอย่าง Assist & Slipper Clutch ตัวป้องกันท้ายปัดขณะเปลี่ยนเกียร์แบบแรงๆ, ระบบกันสะเทือนหน้าแบบ Upside Down ซึ่งหากมองภาพรวมของโมเดลนี้แล้ว ก็ถือว่ามีความแตกต่างจากโฉมก่อนหน้านี้แบบเยอะเลยทีเดียว ที่สำคัญไม่ใช่แค่เรื่องของการออกแบบภายนอกเท่านั้น มันยังรวมไปถึงเรื่องของการออกแบบแฟร์ริ่งที่เน้นการทำแอร์โร่ไดนามิกมากเป็นพิเศษ เพื่อให้เราทำการแหวกลมยามที่ขับขี่ด้วยความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการเลือกใช้เฟรมเดลต้าบ๊อกซ์ ที่มีความแข็งแรงทนทาน, สวิงอาร์มอลูมิเนียมน้ำหนักเบา พร้อมกับการบาลานซ์น้ำหนักรถทั้งด้านหน้าและหลังที่ออกแบบมาเป็นอย่างดี ทำให้ตัวรถนั้นมีความคล่องตัวสูงมากๆ ยามใช้งานจริง



8




จากการที่เราทดสอบนั้น อัตราเร่งในย่านความเร็วต้นถึงกลาง ตัวรถทำได้อย่างยอดเยี่ยม ตามขนาด cc ของมัน ประกอบกับการออกแบบแฟร์ริ่งและชิลด์หน้าที่ส่วนตัวคิดว่าทำได้ดีกว่าโฉมเดิม ก็ส่งผลตรงนี้อย่างชัดเจน ส่วนการไต่ความเร็วตั้งแต่ 110 + ขึ้นไปจนถึงท็อปสปีดมีอาการตื้อบ้างเล็กน้อย แต่จะต้องบอกเลยว่ายังดีกว่ารถที่ไม่มี VVA แบบเห็นได้ชัด เพราะการทำงานของ VVA ที่ 7,400 รอบต่อนาทีขึ้นไปนั้น ช่วยกลบจุดอ่อนของรถสูบเดียวได้แบบมีนัยสำคัญ สรุปก็คือเจ้า R15 คันใหม่นี้นั้น สามารถไต่ความเร็วในย่านร้อยกว่าๆ ไปจนถึง Top Speed ได้ทันใจกว่ารถในคลาสเดียวกันที่ไม่มี VVA นั่นเอง



9




อีกหนึ่งประเด็นที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ ก็คือเจ้า Upside Down ด้านหน้าที่ R15 เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ไม่มี แน่นอนว่ามันคงไม่ใช่ใส่มาเพื่อให้รถมันเท่ๆ แค่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เรามาดูกันเลยว่าการทำงานจริงๆ ของมันจะเป็นอย่างไร ซึ่งเราก็โฟกัสกันไปที่ข้อมือทั้งสองข้างเป็นพิเศษ เพราะถือว่าเป็นจุดที่รับแรงสะเทือนจากเจ้า Upside Down โดยตรง ผลจากการวิ่งประมาณ 20 กว่ารอบพบว่า ความสั่นสะเทือนนั้นอาจจะไม่ถึงกับแตกต่างกับโช้คอัพแบบปกติมากมายแบบเห็นได้ชัด แต่ความมั่นใจในการคอนโทรลรถนั้นดูดีกว่าแบบชัดเจน ต่อมาอีกหนึ่งจุดเด่นที่ถือว่าจะเป็นประโยชน์จริงๆ ของเจ้า Upside Down ก็คือการวิ่งเข้าโค้งแบบหนักๆ ในลักษณะที่ต้องแบนตัวรถ และองศาแกนของโช้คนั้นเอียงตาม ซึ่งมันซับแรงได้ดีกว่าแบบปกติมากทีเดียว ถือว่าให้อารมณ์เรซซิ่งเอามากๆ ซึ่งแน่นอนว่ามันส่งผลให้การเข้าโค้งหนักๆ นั้นทำได้เนียนตา เพราะเราไม่ต้องคอยกังวลกับการยุบตัวคืนตัวในจังหวะนี้ เรียกได้ว่าขาซิ่งที่ชอบเล่นโค้งเป็นชีวิตจิตใจน่าจะติดใจเจ้าโช้คอัพตัวนี้



10



11


Assist & Slipper Clutch ทำงานได้ดีจริงหรือเปล่า? ตรงจุดนี้ทางเราทดสอบด้วยการวิ่งมาด้วยความเร็วมากๆ แล้วตบเกียร์ลงแบบกระทันหันด้วยความรวดเร็ว เพื่อเรียกเอนจิ้นเบรกให้ทำงานทันที ก่อนตบเข้าโค้งแบบหักศอก ผลการทำงานของเจ้า Slipper Clutch นั้นตอบสนองได้ดี คือแม้ว่ามันจะยังมีอาการท้ายสับอยู่บ้าง ไม่ได้หายไป 100% แต่มันก็นุ่มนวลพอที่จะทำให้เราไม่เสียอาการหรือว่าการทรงตัวแต่อย่างใด เทืยบกับรถที่ไม่มีแล้ว ก็เชนจ์เกียร์เพื่อเข้าโค้งแบบกระทันหันได้มั่นใจกว่าเยอะ ส่วนเรื่องการเข้าโค้งทั้งโค้งแคบหรือว่าโค้งไฮสปีดนั้น ด้วยท่านั่งในโค้งและตำแหน่งการวางแฮนด์ถือว่าทำได้อย่างธรรมชาติมากๆ อยู่แล้ว จุดศูนย์ถ่วงรถอยู่ค่อนข้างต่ำ ทำให้พลิกโค้งได้ง่ายและยกรถได้ไว



12



13



สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวของทีมงาน GreatBiker มองว่าเจ้า All New Yamaha YZF-R15 2018 นั้นเป็นรถสปอร์ตแฟร์ริ่งที่ตอบโจทย์ความครบครัน แบบประมาณว่าแค่รถเดิมๆ ของมันก็หล่อตามสไตล์ R-Series เจเนเรชั่นใหม่ และขี่สนุกมากๆ แล้ว โดยไม่ต้องไปแต่งเพิ่มอะไร แม้ว่าราคาของมันจะโดดออกมาจากรถแนวนี้คันอื่นๆ ในท้องตลาดก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่คุ้มค่าและรับได้เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งมาให้



14


15



และล่าสุดกับ New Yamaha YZF-R3 2019 รถสปอร์ตที่อัพเกรดขึ้นยิ่งกว่าเดิม!

 

16

 

แม้จะยังไม่มีการเปิดราคาอย่างเป็นทางการในตอนนี้ แต่หลังจากที่มันได้เผยโฉมกันเป็นครั้งแรกในโลกที่ประเทศไทยไปแล้ว ก็สร้างกระแสความฮือฮาได้เป็นอย่างดี ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของตระกูล YZF-R3 ที่นับว่าเป็นเจนเนเรชั่นที่ 2 ซึ่งในเรื่องของรูปลักษณ์การออกแบบดีไซน์นั้น ในส่วนครึ่งหน้าของตัวรถได้รับแรงบันดาลใจมาจากรุ่นพี่อย่าง YZF-R6 แบบเต็มๆ และระบบไฟมาเป็นแบบ LED แล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้จะเป็นแบบฮาโลเจนมาก่อน รูปลักษณ์ของตัวรถยังคงเน้นการทำแอร์โร่ว์ไดนามิก และรูปลักษณ์ที่เฉียบคม มี DNA จากรถแข่งในสนามมาแบบเต็มๆ บ่งบอกถึงความเป็นสปอร์ตสูงมากๆ แฮนด์รถเป็นแฮนด์จับโช้คแบบใต้แผงคอ มีระบบเบรก ABS ติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานเลย และอีกหนึ่งจุดที่ถือว่าสำคัญเอามากๆ ก็คือการใส่ระบบกันสะเทือนหน้าแบบหัวกลับ Upside Down ขนาด 37 mm ของ KYB มาให้ด้วย เป็นครั้งแรกของ R3 เลยก็ว่าได้ ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดที่ได้เปรียบคู่แข่งคันอื่นๆ ของรถสปอร์ตแฟร์ริ่ง สำหรับในท้องตลาดของประเทศไทย และอีกประเด็นที่สำคัญก็คือ จากหลักการออกแบบแฟริ่งใหม่ที่เสริมด้านพลศาสตร์ให้เจ้า New YZF-R3 2019 นั้นสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ดีกว่าโมเดลเดิมถึง 8 กิโลเมตร/ชั่วโมง

พบกับกองทัพ R-Series ทุกรุ่นทั้ง YZF-R1, YZF-R6, YZF-R3 และ YZF-R15 กันได้ที่โชว์รูม Yamaha ทั่วประเทศ!!!